CU Cancer Immunotherapy Excellence Center


ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง เป็นโครงการเพื่อความเป็นเลิศของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับการสนับสนุนจากทุน“สร้างเสริมพลังจุฬาฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 ช่วงที่ 2” จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับงบประมาณจากศูนย์ความเป็นเลิศโรคมะเร็งครบวงจรและศูนย์ความเป็นเลิศเซลล์ต้นกำเนิดและเซลล์บำบัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการวิจัยพัฒนารักษาโรคมะเร็งในยุคปัจจุบันโดยเน้นไปสู่การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (immunotherapy) เนื่องจากเป็นวิธีการสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง และความมีจำเพาะต่อโมเลกุลเป้าหมายในเซลล์มะเร็งแต่ละชนิด โดยการรักษาด้วยวิธีนี้ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้นผ่านกระบวนการพิเศษทำให้มีความสามารถในการจดจำและทำลายเซลล์มะเร็งที่เป็นเป้าหมายได้อย่างจำเพาะโดยไม่ส่งผลต่อเซลล์ปกติในร่างกาย

Loving is Giving

สนับสนุนการวิจัยกับ "กองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ"

 

สำหรับท่านใดที่สนใจร่วมบริจาค ขณะนี้ทางเรามีช่องทางดังต่อไปนี้ค่ะ

1. บริจาคโดยตรงที่ตึกอานันทมหิดล ชั้น 2 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในเวลาราชการ ได้รับใบเสร็จทันที

2. E-donation ผ่าน QR code โดย Internet banking ทุกธนาคาร สำหรับท่านที่ยื่นภาษี online สามารถตรวจสอบรายการบริจาคผ่าน website สรรพากรได้โดยตรงโดยไม่ต้องใช้ใบเสร็จ (เฉพาะผู้ที่ยื่นภาษีออนไลน์เท่านั้น)

3. สำหรับท่านที่บริจาคโดยการโอนเงิน (กรุณาใช้บัญชีกระแสรายวันเป็นหลัก 045-304669-7 และเฉพาะผู้ที่ต้องการใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษี ขอให้กรอกข้อมูลขอใบเสร็จมาทาง online http://ciec.md.chula.ac.th/donation/

4. ช่องทางใหม่สำหรับผู้ที่ต้องการใช้บัตรเครดิต หรือ Bill payment สามารถบริจาคผ่าน https://www.chula.ac.th/about/giving โดยท่านจะได้ใบเสร็จผ่านทาง email ค่ะ

หมายเหตุ: ใบเสร็จไม่ต้องใช้ข้อมูลที่อยู่นะคะ ใช้เฉพาะที่อยู่สำหรับจัดส่งเอกสารเท่านั้นค่ะ ส่วนเลขบัตรประชาชนคือข้อมูลที่เตรียมนำไปใช้กับระบบ E-donation ที่จะเริ่มใช้ในปีหน้าอย่างเต็มรูปแบบค่ะ

 

กรอกข้อมูลเพื่อขอใบเสร็จสำหรับลดหย่อนภาษี

ส่งข้อมูล
สวัสดีค่ะ ปี 2018 นี้เราได้รับความกรุณาจากอ.พันธุ์ศักดิ์ จักกะพากมอบภาพเขียนรูปกล้วยไม้ไทยแสนสวย 2 สีคือเหลืองจันทบูรและแวนด้าฟ้ามุ่ย และออกแบบเป็นผ้าพันคอลายใหม่ใน “คอลเลคชั่นผ้าพันคอลายภาพเขียนอ.พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก” ด้วยผ้าไหมซาตินเหมือนเดิมค่ะ ราคา 1,200 บาท ขอเรียนเชิญท่านผู้มีจิตกุศลสนับสนุนกองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ สั่งจองได้ตั้งแต่บัดนี้ค่ะ กรุณาดูรายละเอียดวิธีการสั่งได้ในรูปด้านล่างนะคะ ของจะเริ่มได้ในเดือนตุลาคม 2018 นี้ค่ะ กราบขอบพระคุณทุกๆท่านที่สนับสนุนงานวิจัยของเรามากๆค่ะ


About us

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีความพร้อมและความเชี่ยวชาญ ในด้านการวิจัย การเรียนการสอน และการบริการด้านโรคมะเร็ง โดยมีการจัดตั้งศูนย์มะเร็งครบวงจรแห่งจุฬาลงกรณ์ขึ้น และได้รับเกียรติเข้าร่วมเป็นสถาบันพันธมิตร (Sister Institution) กับ M.D. Anderson Cancer Center มหาวิทยาลัยเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นสถาบันการแพทย์ด้านมะเร็งวิทยาชั้นนำของโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับนานาชาติในการค้นคว้าวิจัยด้านโรคมะเร็ง การให้ความรู้ในการป้องกันและรักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบันรวมถึง อนาคต ในปัจจุบันโรงพยาบาลจุฬาฯให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยวิธีที่เป็นมาตรฐานระดับโลก ประกอบกับการมีศูนย์การวินิจฉัยโรคมะเร็งด้วยเทคนิคที่มีความก้าวหน้าทันสมัยและเป็นศูนย์กลางการรับตรวจ จากโรงพยาบาลอื่นๆเพื่อให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีโอกาสได้รับการรักษาที่ตรงเป้าเหมาะสมมากที่สุด

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง เป็นโครงการเพื่อความเป็นเลิศของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับการสนับสนุนจากทุน“สร้างเสริมพลังจุฬาฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 ช่วงที่ 2” จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับงบประมาณจากศูนย์ความเป็นเลิศโรคมะเร็งครบวงจรและศูนย์ความเป็นเลิศเซลล์ต้นกำเนิดและเซลล์บำบัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนางานวิจัยด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งซึ่งเป็นนวัตกรรมการรักษาที่มีความก้าวหน้าอย่างมากในปัจจุบัน การรักษาโรคมะเร็ง แม้ว่ามีวิธีการรักษาหลายอย่าง เช่น การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และการฉายแสง แต่ส่วนใหญ่แล้ว ไม่มีวิธีไหนที่รักษาให้หายขาดได้ และมีผลข้างเคียงทั้งในระยะสั้น และระยะยาวสูงมาก ดังนั้นการวิจัยเพื่อให้ได้วิธีการรักษาแบบใหม่ที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดและเป็นวิธีการรักษาที่มีผลข้างเคียงลดลงจึงมีความจำเป็นอย่างสูง การวิจัยพัฒนารักษาโรคมะเร็งในยุคปัจจุบันมุ่งเน้นไปสู่การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (immunotherapy) เนื่องจากเป็นวิธีการสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง และความมีจำเพาะต่อโมเลกุลเป้าหมายในเซลล์มะเร็งแต่ละชนิด โดยการรักษาด้วยวิธีนี้ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้นผ่านกระบวนการพิเศษทำให้มีความสามารถในการจดจำและทำลายเซลล์มะเร็งที่เป็นเป้าหมายได้อย่างจำเพาะโดยไม่ส่งผลต่อเซลล์ปกติในร่างกาย ทำให้ได้ผลในการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและมีผลข้างเคียงน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับวิธีการรักษาแบบเก่า ปัจจุบันสถาบันวิจัยชั้นนำด้านมะเร็งในระดับโลกตั้งกองทุนและมุ่งพัฒนาการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดเป็นหลัก

จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาการรักษานี้ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อลดการนำเข้ายาและเทคโนโลยีการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพงมาก รวมทั้งเน้นพัฒนาการรักษาโรคมะเร็งที่เป็นปัญหาในประชากรไทย โดยได้รวบรวมนักวิจัยและแพทย์ที่เกี่ยวข้องในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย รวมทั้งร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยระดับโลก

นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งกองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ (CU Cancer Immunotherapy Fund) เนื่องจากการคิดค้นวิจัยเพื่อนวัตกรรมที่สำคัญยิ่งนี้จำต้องอาศัยแรงสนับสนุนแนวความร่วมมือจากประชาชน เอกชนและรัฐ ในการจัดหาทุน จัดซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ จัดสร้างสถานที่เพื่อดำเนินงานวิจัยให้สำเร็จลุล่วง

Our Cancer Immunotherapy Research

Therapeutic Antibody

การรักษาด้วย antibody therapy โดยการใช้ monoclonal antibody ชนิดต่างๆที่สามารถจับกับโมเลกุล เป้าหมายบนเซลล์มะเร็งแล้วชักนำให้เกิดการทำลายเซลล์มะเร็ง หรือการใช้ bispecific antibody เป็นต้น ในปัจจุบันมีงานวิจัยจำนวนมากที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด

Adoptive T-cell therapy

โดยนำเลือดของผู้ป่วยมาทำการแยกเซลล์ชนิดต่างๆของระบบภูมิคุ้มกันที่ต้องการ แล้วนำมาเพาะเลี้ยงและทำการกระตุ้นให้มีความจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง แล้วใส่กลับสู่ร่างกายผู้ป่วย วิธีนี้จะใช้ได้ดีกับเซลล์มะเร็งที่มีเชื้อไวรัสเช่นมะเร็งหลังโพรงจมูกและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหลังการปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ดีของระบบภูมิคุ้มกัน งานวิจัยนี้นำโดยผศ.ดร.นพ. ปกรัฐ หังสสูต ผู้วิจัยมีความเชี่ยวชาญ ในการพัฒนา T-cell ชนิดนี้มาระยะเวลาหนึ่งแล้ว

 

CAR T cells

หลักการคร่าวๆคือเป็นการดัดแปลงทีเซลล์ในห้องปฏิบัติการ โดยนำบางส่วนของแอนติบอดี (แบบเดียวกับที่กล่าวไว้ในแอนติบอดีเพื่อการรักษา) มาตัดต่อลงบนทีเซลล์ โดยใช้ประโยชน์ของความจำเพาะของแอนติบอดีที่มีต่อเซลล์มะเร็ง และเมื่อแอนติบอดีที่ถูกนำมาแปะตรวจพบเซลล์มะเร็งก็จะสามารถกระตุ้นทีเซลล์ให้เริ่มการทำลายได้อย่างรวดเร็ว CAR T cells อาจถูกเรียกว่าซุปเปอร์ทีเซลล์ก็ได้เพราะมันมีความสามารถในการทำลายเซลล์มะเร็งได้สูงกว่าทีเซลล์ทั่วๆไปด้วย

NK cells

การพัฒนาการรักษาโดยใช้เอ็นเคเซลล์ (NK cells) ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการฆ่าเซลล์มะเร็งบางชนิดได้ดีมาก มะเร็งที่มีรายงานว่าได้ผลดีต่อการรักษาด้วย NK cells คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิด Myeloid โดยจะใช้วิธีนี้รักษาในผู้ป่วยที่มีโรคกลับเป็นซ้ำหรือไม่ตอบสนองต่อการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด ขณะนี้คณะผู้วิจัยนำโดย อ.นพ.กรมิษฐ์ ศุภพิพัฒน์ ได้พัฒนาการเลี้ยง NK-T cells เพื่อจะรักษาในมนุษย์สำเร็จแล้ว

 

Neoantigen and Cancer Vaccine


การพัฒนาวัคซีนเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต่อต้านมะเร็ง: วัคซีนที่ผู้คนทั่วไปรู้จักในการป้องกันโรคต่างๆทำงานด้วยการนำสิ่งก่อโรคมาทำให้อ่อนแรงลง และนำเข้าสู่ร่างกายกระตุ้นภูมิคุ้มกันของเราให้จดจำสิ่งก่อโรคเหล่านั้นได้ เมื่อเจอเชื้อโรคหน้าตาเหมือนเดิมในครั้งต่อไป ร่างกายก็จะสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัคซีนมะเร็งก็ทำงานคล้ายๆกัน เป้าหมายคือสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ตอบสนองต่อมะเร็งได้

Cancer Biomarker


ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ความก้าวหน้าด้านงานวิจัยมะเร็งทำให้เกิดเทคโนโลยีที่สามารถนำไปใช้ในการวินิจฉัย พยากรณ์โรคและรักษาใหม่จำนวนมาก มะเร็งหลายชนิดที่พบในผู้ป่วยไทยมีความแตกต่างจากที่พบในประเทศ ทางตะวันตกจำเป็นที่จะต้องมีการบูรณาการงานวิจัยเพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่ และนำไปพัฒนาวิธีการวินิจฉัย และการรักษาโรคมะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Chula Tissue Bank, Genome and Omics Databases, and Cancer Model


การสร้าง biobank ของมะเร็งที่เป็นจุดเด่นของประเทศและภูมิภาคที่ comprehensive เทียบเท่า มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงต่างประเทศ รวบรวมทั้งข้อมูลคลินิก ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการชั้นสูง omics ต่างๆ เซลล์ และ biosample อื่นๆ สามารถเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ database ของ cancer center ระดับโลก เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญต่องานวิจัยอย่างมาก
นอกจากธนาคารชีววัตถุ (Biobank) แล้ว การมีฐานข้อมูลทางจีโนมและโอมิกซ์อื่น ทั้ง epigenomics, transcriptomics, proteomics, metabolomics เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินงานด้านมะเร็ง ข้อมูลที่จะเกิดขึ้นจากงานวิจัยต้องมี high performance computer system ที่สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลได้พร้อมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

Media Support by : ETDA สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) (องค์การมหาชน)

ทีมวิจัย

View